เครื่องมือแต่ละชิ้น จะมีจุดเด่นที่สามารถเข้าถึง และค้นหาความเข้าใจในแต่ละมิติภัยพิบัติของชุมชน ประกอบไปด้วย
1) ผังประวัติศาสตร์ภัยพิบัติชุมชน เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ภัยพิบัติด้วยแผนผัง อาศัยข้อมูลจากคนในชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเพิ่ม หรือลดความเสียหายอย่างเป็นเหตุเป็นผลในแต่ละช่วงเวลา ส่งผลให้ชุมชนสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงในพื้นที่ และยังแสดงให้เห็นว่าภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัว
2) แผนที่ชุมชนรับมือภัยพิบัติ แผนที่มีชีวิต ่เกิดจากการเดินดินสำรวจชุมชนระบุตำแหน่งสถานที่สำคัญ พื้นที่ความเสี่ยง และกลุ่มเปราะบาง การทำแผนที่ส่งผลให้ชุมชนเข้าใจมิติกายภาพและความสัมพันธ์ในชุมชน
3) ผังเครือญาติ การใช้สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในระบบเครือญาติหนึ่งๆ
4) ผังเครือข่ายและองค์กรชุมชน เครื่องมือช่วยให้มองเห็นความหลากหลาย เข้าใจเครือข่าย และองค์กรทั้งแบบทางการ และไม่ทางการ เป็นทุนทางสังคมที่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาชุมชนได้อย่างไรบ้าง
5) ระบบสื่อสารชุมชน เป็นเครื่องมือรวบรวมช่องทางการสื่อสาร ที่จะช่วยให้ชุมชนบริหารการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับงานภัยพิบัติ เช่น ระบบแจ้งภัย เตือนภัย
6) ตารางทุนชุมชน เพราะเชื่อว่าชุมชนไม่ใช่ภาชนะว่าง จึงมีการสำรวจศักยภาพ เพื่อดึงขีดความสามารถออกมาประยุกต์ใช้ต่อการรับมือภัยพิบัติ เช่น ความรู้ภูมิปัญญา องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน
7) ปฏิทินชุมชน ปฏิทินภัยพิบัติ เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลกิจกรรม เหตุการณ์ เช่น ประเพณีชุมชน วันสำคัญ ช่วงที่เคยเกิดภัยธรรมชาติ เพื่อการวางแผนและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า
8) ระบบสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน ข้อมูลสุขภาพชุมชนในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน เช่น บุคลากร หน่วยบริการ ระบบส่งต่อผู้บาดเจ็บ เครื่องมือทางการแพทย์ ยา ช่องทางติดต่อ มีความสำคัญในการดูแลกลุ่มเปราะบางช่วงสถานการณ์ภัยพิบัติ
9) เรื่องเล่าภัยพิบัติ รวบรวมประสบการณ์ การเผชิญภัยพิบัติ เรื่องราวการร่วมมือของชุมชน ฯลฯ
ดาวน์โหลด เครื่องมือภัยพิบัติชุมชน : คู่มือเรียนรู้สู้ภัย (Community Disaster Tools)